วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

สถานที่ท่องเที่ยวศักดิ์ของจังหวัดหนองคาย


วัดหินหมากเป้ง  ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท การเดินทางจากตัวเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) ถึง กม. 64 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2186 วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม อาจารย์เทสก์ เทสรังสี เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย 



วัดถ้ำศรีมงคล หรือ (ถ้ำเพียงดิน)  มีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด คือ ถ้ำดินเพียงมีหลานคนได้เล่าขานกันมาว่าเป็นถ้ำที่พระธุดงค์ประเทศลาวเดินทางข้ามมาโดยไม่ได้ผ่านมาทางเรือแต่เป็นการเดินทางผ่านถ้ำนี้ซึ่งผู้ที่จะเห็นเส้นทางภายในถ้ำต้องเป็นผู้บำเพ็ญศีลภาวนา หรือพระอภิญญาลักษณะถ้ำดินเพียงนี้คล้ายเมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อของชาวบ้านภายในถ้ำจะมีความชื้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีก้อนหินเป็นแท่งตั้งวางอย่างจงใจบางก้อนเป้นโลงศพ มีส่วนเว้าโค้งของหินภายในถ้ำที่สวยงามการเดินทางเข้าชมถ้ำควรมีผู้เชี่ยวชาญนำเข้าไปเพราะถ้าไปเองอาจทำให้หลงทางและเป็นอันตรายได้






วัดโพธิ์ชัย   เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ใตเขตเทศบาลเมือง เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลางและพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไป ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ทุกปีในวันเพ็ญกลางเดือน 7 ชาวเมืองหนองคายจะมีงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ที่จอดรถไม่มีที่จอดรถเฉพาะสำหรับคนพิการ แต่ที่จอดรถเป็นลานกว้างใกล้ทางเข้าพระอุโบสถ
ทางเดินทางเชื่อมทางเชื่อมกว้างเหมาะสม และเรียบไม่มีระดับ
บันไดความกว้างไม่น้อยกว่า1.5 เมตร มีราวจับ
ห้องส้วมจัดให้มีห้องส้วมไว้เฉพาะ 1 ห้อง ไม่แยกเพศ เข้าถึงได้สะดวก
ราวจับมีทั้งราวบันไดและในห้องส้วม
ป้ายสัญลักษณ์มีป้ายสัญลักษณ์บอกตำแหน่งห้องส้วมคนพิการและผู้สูงอายุ




พระธาตุกลางน้ำ   เดิมชื่อพระธาตุหล้าหนอง เป็นพระธาตุที่หักพังอยู่กลางลำน้ำโขงห่างจากชายฝั่งปัจจุบันประมาณ 180 เมตรเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุฝ่าพระบาทเก้าพระองค์ตามตำนานอุรังคธาตุ (พระพนม)จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค 7 พบว่าองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 17.2 เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ 28.5 เมตร หักออกเป็น 3 ท่อนสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 20–22 เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด หนังสือประชุมพงศาวดารภาค 70 บันทึกไว้ว่า “พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง) เมื่อวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีพุทธศักราช 2390” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน

พระธาตุหล้าหนองยังคงเป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายชาวบ้านได้จัดงานประเพณีเกี่ยวกับพระธาตุทุกปีนอกจากนี้ทางจังหวัดหนองคายได้ก่อสร้างพระธาตุหล้าหนององค์จำลองสูง 15 เมตรขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยบรรจุชิ้นส่วนพระธาตุองค์จริงอยู่ภายใน




พระธาตุบังพวน   ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู ตำบลพระธาตุบังพวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 23 กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองหนองคายมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (หนองคาย-อุดรธานี) ประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 211 ทางไปท่าบ่อ ถึงกม. 10 วัดอยู่ด้านขวามือ พระธาตุบังพวนเป็นเจดีย์เก่าแก่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายมาช้านาน ตัวองค์พระธาตุเดิมสร้างด้วยอิฐเผา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น เป็นสถูปแบบอินเดียรุ่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้พังทลายลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 เนื่องจากฐานทรุด เจดีย์องค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เป็นรูปปรางค์สี่เหลี่ยมต่อกันเป็นบัวปากระฆัง มีฐานทักษิณ 5 ชั้น กว้าง 17.20 เมตร ชั้นที่ 6 เป็นรูประฆังคว่ำ ชั้นที่ 7 เป็นรูปดาวปลี เหนือขึ้นไปเป็นที่ตั้งฉัตร สูงจากพื้นดิน 34.25 เมตร ชาวหนองคายจัดงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 11 ค่ำเดือนยี่ของทุกปี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่ สัตตมหาสถาน หรือ สถานที่สำคัญ 7 แห่งในพุทธประวัติหลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วและได้เสด็จประทับเสวยวิมุติสุขแห่งละ 7 วัน และสระปัพพฬนาค หรือสระพญานาค ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ก็จะนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อเป็นสิริมงคล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น