วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

จัดทำโดย


ชื่อ น.ส.สุดารัตน์  นายกชน

นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ชั้นปีที่ ๓ 

วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ






รองสุดฤทัย  ชัยแสงฤทธิ์

อาจารย์ประจำวิชา






นายชาญชัย  บุตรแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ประชากรในจังหวัดหนองคาย

ประชากรในจังหวัดหนองคาย

อำเภอ/ปี2556 (คน)2555 (คน)2554 (คน)2553 (คน)2552 (คน)2551 (คน)2550 (คน)
เมืองหนองคาย147,386146,248145,507145,472144,565145,153144,856
โพนพิสัย97,83597,58597,18497,32196,62296,58096,155
ท่าบ่อ82,77582,72382,63482,85982,81383,95484,080
เฝ้าไร่51,65951,42550,91450,70850,56850,52350,485
รัตนวาปี38,35238,19937,89737,60237,34537,30137,118
ศรีเชียงใหม่30,69130,57930,55930,74930,73531,03131,183
สระใคร26,28426,06725,92625,83825,67525,55925,403
สังคม24,60224,37924,09023,84023,66423,55223,280
โพธิ์ตาก15,35915,23415,11915,00614,93614,89214,789
รวมทั้งจังหวัด514,943512,439509,870509,395506,923508,545507,349















ที่ตั้งและอาณาเขตของจังหวัดหนองคาย

ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ประมาณ 3,026.534 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,891,583 ไร่ ลักษณะเป็นรูปยาวเรียงทอดไปตามลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนกับประเทศลาว มีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ที่ทอดขนานไปตาม ลำน้ำโขงโดยเฉลี่ย 20 - 25 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินสาย 2 (มิตรภาพ) ประมาณ 615 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับกำแพงนครเวียงจันทน์ เขตเมืองหลวงของประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปากคาด และอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอนายูง และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากชม จังหวัดเลย[3]
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดหนองคายมีลักษณะทอดยาวตามลำน้ำโขง จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีอาณาเขตติดกับนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นเขตแดน จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเอกลักษณ์พิเศษโดยมีพื้นที่ทอดขนานยาวไปตามลำน้ำโขงมีความยาวทั้งสิ้น 195 กิโลเมตร ความกว้างของพื้นที่ทอดขนานไปตามลำน้ำโขงโดยเฉลี่ยประมาณ 20 – 25 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดอยู่ที่อำเภอเฝ้าไร่ และช่วงที่แคบที่สุดอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายมีอำเภอที่อยู่ติดกับลำน้ำโขง 6 อำเภอ คือ อำเภอสังคม อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอเมือง อำเภอโพนพิสัย และอำเภอรัตนวาปี และมีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศลาว คือ แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ

จังหวัดหนองคายมีจุดผ่านแดนไป ประเทศลาว รวม 6 จุด เป็นจุดผ่านแดนถาวร 2 จุด และจุดผ่อนปรน 4 จุด จุดผ่านแดนที่สำคัญและเป็นสากล คือ ด่านสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลีย-ไทย-ประเทศลาว ร่วมมือกันสร้างและเป็นประตูไปสู่อินโดจีน

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกได้เป็น 4 บริเวณ คือ

พื้นที่ค่อนข้างราบ ได้แก่ เขตอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ และอำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการทำนา และปลูกพืชบริเวณริมน้ำโขง
พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอำเภอเป็นหย่อมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ทำนาและปลูกพืชไร่ พืชสวนและป่าธรรมชาติ
พื้นที่เป็นคลื่นลอนชันและเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง เบญจพรรณ พบในเขตอำเภอสังคม
สภาพพื้นที่เป็นภูเขาที่มีความสูงชัน จากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตร เป็นบริเวณเทือกเขาต่างๆ ทางทิศตะวันตกในเขตอำเภอสังคม[3]
เนื่องจากแม่น้ำโขงไหลผ่านอำเภอต่างๆ เกือบทุกอำเภอ จึงก่อให้เกิดประโยชน์ในการเกษตรกรรม ราษฎรได้อาศัยแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะราษฎรที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง จะได้รับประโยชน์มากกว่าราษฎรที่อยู่ลึกเข้าไปจากแม่น้ำโขง นอกจากนี้สำนักงานพลังงานแห่งชาติได้จัดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ในพื้นที่ 9 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 82 สถานี เพื่อทำการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงและแหล่งน้ำอื่น ๆ ขึ้นมาใช้เพื่อการเกษตรกรรม

ลักษณะอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง (ธ.ค. - ม.ค.) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคม และร้อนจัดในเดือนเมษายน ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ (มิ.ย.- ก.ค.) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลง และในเดือนตุลาคมอุณหภูมิจะเริ่มลดลงจนอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดรายปีอยู่ที่ 9.50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดรายปีอยู่ที่ 40.60 องศาเซลเซียสเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 26.46 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ที่ 1,843.6 มิลลิเมตรต่อปี[4][3]


จำนวนอำเภอและตำบลทั้งหมดของจังหวัดหนองคาย

       01 - อำเภอเมือง
 430101 - ตำบลในเมือง
 430102 - ตำบลมีชัย
 430103 - ตำบลโพธิ์ชัย
 430104 - ตำบลกวนวัน
 430105 - ตำบลเวียงคุก
 430106 - ตำบลวัดธาตุ
 430107 - ตำบลหาดคำ
 430108 - ตำบลหินโงม
 430109 - ตำบลบ้านเดื่อ
         430110 - ตำบลค่ายบกหวาน
 430111 - ตำบลสองห้อง
             430113 - ตำบลพระธาตุบังพวน
             430116 - ตำบลหนองกอมเกาะ
 430117 - ตำบลปะโค
 430118 - ตำบลเมืองหมี
 430119 - ตำบลสีกาย  
       02 - อำเภอท่าบ่อ
 430201 - ตำบลท่าบ่อ  
 430202 - ตำบลน้ำโมง  
 430203 - ตำบลกองนาง  
 430204 - ตำบลโคกคอน
 430205 - ตำบลบ้านเดื่อ  
 430206 - ตำบลบ้านถ่อน
 430207 - ตำบลบ้านว่าน  
 430208 - ตำบลนาข่า  
 430209 - ตำบลโพนสา  
     430210 - ตำบลหนองนาง  
03 - อำเภอบึงกาฬ
 430301 - ตำบลบึงกาฬ
         430303 - ตำบลโนนสมบูรณ์  
     430304 - ตำบลหนองเข็ง  
 430305 - ตำบลหอคำ  
     430306 - ตำบลหนองเลิง  
 430307 - ตำบลโคกก่อง  
     430310 - ตำบลนาสวรรค์  
 430311 - ตำบลไคสี  
 430314 - ตำบลชัยพร  
 430316 - ตำบลวิศิษฐ์  
 430318 - ตำบลคำนาดี  
     430319 - ตำบลโป่งเปือย  
04 - อำเภอพรเจริญ
 430401 - ตำบลศรีชมภู  
         430402 - ตำบลดอนหญ้านาง  
 430403 - ตำบลพรเจริญ  
         430404 - ตำบลหนองหัวช้าง  
 430405 - ตำบลวังชมภู  
 430406 - ตำบลป่าแฝก  
     430407 - ตำบลศรีสำราญ  
05 - อำเภอโพนพิสัย
 430501 - ตำบลจุมพล
 430502 - ตำบลวัดหลวง  
 430503 - ตำบลกุดบง  
 430504 - ตำบลชุมช้าง  
 430506 - ตำบลทุ่งหลวง  
        430507 - ตำบลเหล่าต่างคำ
 430508 - ตำบลนาหนัง  
 430509 - ตำบลเซิม  
 430513 - ตำบลบ้านโพธิ์  
 430521 - ตำบลบ้านผือ  
         430522 - ตำบลสร้างนางขาว  
06 - อำเภอโซ่พิสัย
                                                              430601 - ตำบลโซ่  
         430602 - ตำบลหนองพันทา  
 430603 - ตำบลศรีชมภู  
 430604 - ตำบลคำแก้ว  
 430605 - ตำบลบัวตูม  
 430606 - ตำบลถ้ำเจริญ  
     430607 - ตำบลเหล่าทอง  
07 - อำเภอศรีเชียงใหม่
 430701 - ตำบลพานพร้าว  
 430703 - ตำบลบ้านหม้อ  
 430704 - ตำบลพระพุทธบาท  
     430705 - ตำบลหนองปลาปาก  
08 - อำเภอสังคม
 430801 - ตำบลแก้งไก่
 430802 - ตำบลผาตั้ง  
 430803 - ตำบลบ้านม่วง  
 430804 - ตำบลนางิ้ว  
 430805 - ตำบลสังคม  
09 - อำเภอเซกา
 430901 - ตำบลเซกา  
 430902 - ตำบลซาง  
     430903 - ตำบลท่ากกแดง  
 430906 - ตำบลบ้านต้อง  
 430907 - ตำบลป่งไฮ  
 430908 - ตำบลน้ำจั้น  
     430909 - ตำบลท่าสะอาด  
     430912 - ตำบลหนองทุ่ม  
 430913 - ตำบลโสกก่าม  
10 - อำเภอปากคาด
 431001 - ตำบลปากคาด  
     431002 - ตำบลหนองยอง  
 431003 - ตำบลนากั้ง  
 431004 - ตำบลโนนศิลา
 431005 - ตำบลสมสนุก  
 431006 - ตำบลนาดง  
11 - อำเภอบึงโขงหลง
     431101 - ตำบลบึงโขงหลง  
             431102 - ตำบลโพธิ์หมากแข้ง  
 431103 - ตำบลดงบัง  
     431104 - ตำบลท่าดอกคำ  
12 - อำเภอศรีวิไล
 431201 - ตำบลศรีวิไล  
 431202 - ตำบลชุมภูพร  
 431203 - ตำบลนาแสง  
     431204 - ตำบลนาสะแบง  
 431205 - ตำบลนาสิงห์  
13 - อำเภอบุ่งคล้า
 431301 - ตำบลบุ่งคล้า  
     431302 - ตำบลหนองเดิ๋น  
     431303 - ตำบลโคกกว้าง  
14 - อำเภอสระใคร
 431401 - ตำบลสระใคร  
 431402 - ตำบลคอกช้าง
 431403 - ตำบลบ้านฝาง  
15 - อำเภอเฝ้าไร่
 431501 - ตำบลเฝ้าไร่  
 431502 - ตำบลนาดี  
         431503 - ตำบลหนองหลวง  
 431504 - ตำบลวังหลวง  
 431505 - ตำบลอุดมพร  
16 - อำเภอรัตนวาปี
 431601 - ตำบลรัตนวาปี
 431602 - ตำบลนาทับไฮ  
 431603 - ตำบลบ้านต้อน  
             431604 - ตำบลพระบาทนาสิงห์  
     431605 - ตำบลโพนแพง  
17 - อำเภอโพธิ์ตาก
 431701 - ตำบลโพธิ์ตาก  
    431702 - ตำบลโพนทอง
 431703 - ตำบลด่านศรีสุข

สัญลักษณ์ของจังหวัดหนองคาย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัดหนองคาย

ซุ้มประตูพญานาคราชเมืองหนองคาย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดหนองคาย คือ พญานาค หรือ งูใหญ่
อักษรย่อ คือ นค.
ฉายา คือ เมืองพญานาค ,พัทยาอีสานเหนือ ,มังกรเลื้อยแห่งอีสาน ,เวียงภุชคะ ,นาคบุรี
ตราประจำจังหวัดหนองคาย คือ รูปก่อไผ่และหนองน้ำ มีภูเขาหัวน้ำอุ่นอยู่เบื้องหลัง เพราะที่ตั้งเมืองหนองคายนี้เดิมชื่อ บ้านไผ่ มีกอไผ่อยู่ทั่วไปและมีหนองน้ำใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หนองคาย
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ชิงชัน (Dalbergia oliveri)
ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคาย ลักษณะรูปร่างของจังหวัดหนองคายมีรูปร่างคล้ายกับเครื่องหมายถูกต้อง
คำขวัญประจำจังหวัด ได้แก่ วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
เพลงประจำจังหวัด
อันจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย อยู่ชายแดน ตามภูมิแผนที่ตั้งริมฝั่งโขง ภาคอีสานเรืองอร่ามเรืองอร่ามงามจรรโลง เกียรติดังโด่ง เป็นเมืองด่านบานประตู ชาวหนองคาย หนองคาย พี่น้องผองไทยกาจ ล้วนสามารถแสดงประจักษ์เป็นนักสู้ เคยชิงชัยห้าวหาญต้านศัตรู มิให้จู่โจมบุกรุกแดนไทย อันพี่น้องหนองคายชายก็ชาญ หญิงสะคราญหมดจดสวยสดใส ทุกคนเอื้ออารีมีนำใจ ถึงอยู่ไกลไมตรีสนิท เป็นมิตรเอย

การคมนาคม

การคมนาคม
ระยะทางจากจังหวัดหนองคายไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ

จังหวัดนครราชสีมา 418 กิโลเมตร
จังหวัดอุดรธานี 51 กิโลเมตร
จังหวัดเลย 202 กิโลเมตร
จังหวัดสกลนคร 210 กิโลเมตร
จังหวัดนครพนม 303 กิโลเมตร
จังหวัดบึงกาฬ 136 กิโลเมตร
กรุงเทพมหานคร 615 กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอใกล้เคียง โดยประมาณ คือ

อำเภอท่าบ่อ 27 กิโลเมตร
อำเภอโพนพิสัย 45 กิโลเมตร
อำเภอศรีเชียงใหม่ 57 กิโลเมตร
อำเภอสังคม 95 กิโลเมตร
อำเภอสระใคร 27 กิโลเมตร
อำเภอเฝ้าไร่ 71 กิโลเมตร
อำเภอรัตนวาปี 71 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ตาก 77 กิโลเมตร
รถยนต์[แก้]
จากกรุงเทพมหานคร ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จนไปถึง หนองคาย

รถโดยสารประจำทาง
สถานีขนส่งหนองคาย มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และจากหนองคายไปยังจังหวัดต่างๆ เช่น สาย 23 กรุงเทพฯ - หนองคาย ของ ชญทัวร์ แอร์อุดร เชิดชัยทัวร์ 407 พัฒนา บุษราคัมทัวร์ รุ่งประเสริฐทัวร์, สาย 590 หนองคาย - ระยอง ของ 407 พัฒนา, สาย 507 หนองคาย - เลย, สาย 224 อุดรธานี - หนองคาย - นครพนม, สาย 221 หนองคาย - อุดรธานี, สาย 776 หนองคาย - ภูเก็ต ของชาญประเสริฐทัวร์ รวมไปถึงรถโดยสารระหว่างประเทศ สาย หนองคาย - เวียงจันทน์ และ อุดรธานี - หนองคาย - วังเวียง

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ - หนองคาย ทุกวัน โดยออกจากสถานีหนองคายไปยังอุดรธานี ขอนแก่น และกรุงเทพฯ วันละ 3 เที่ยว

การคมนาคมในตัวจังหวัดหนองคาย
รถแท็กซี่มิเตอร์
รถสามล้อเครื่อง
รถสองแถว
เครื่องบิน

ต้องลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีจากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำในจังหวัดหนองคาย


ตลาดท่าเสด็จ

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมือง เป็นแหล่งรวมสินค้าที่ในแถบอินโดจีนและยุโรปตะวันออกมีทั้งผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และข้าวของเครื่องใช้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องครัว เปิดจำหน่ายทุกวันเวลา 07.00-18.30 น. มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้ามากมาย นอกจากนี้ท่าเสด็จยังเป็นด่านสำหรับคนท้องถิ่นข้ามไปยังลาว ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปต้องใช้ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว






ศาลาแก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ ซึ่งได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้งานปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆรูปเทพฮินดู รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนคริสต์ รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00-18.30 น. ค่าเข้าชม 10 บาท





สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปจากอำเภอเมืองหนองคายไปยังเมืองท่าเดื่อ ของ สปป.ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวทั่วไปที่ต้องการเดินทางจากหนองคายไปเวียงจันทน์จำเป็นต้องใช้สะพานแห่งนี้ ตัวสะพานมีความยาว 1,137 เมตร กว้าง 12.7 เมตร มีช่องสำหรับเดินรถ 2 ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ เชิงสะพานมีด่านตรวจคนเข้าเมือง 
การเดินทางท่องเที่ยวประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยตัวเอง หรือใช้บริการนำเที่ยวจากบริษัทนำเที่ยวที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ด่านจะเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00-22.00น.
เอกสารประกอบการเดินทาง
     ชาวไทย ต้องทำบัตรผ่านแดนที่ศาลากลางจังหวัดหนองคาย โทร. 0 4241 1778 เปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ค่าธรรมเนียมคนละ 40 บาท หรือติดต่อผ่านบริษัททัวร์ที่รับดำเนินการให้ ค่าบริการ 100 บาท เอกสารประกอบการทำบัตรผ่านแดนคือ สำเนาบัตรประชาชนและรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป กรณีผู้ติดตามอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาสูติบัตรแทนสำเนาบัตรประชาชนและนำบัตรผ่านแดนไปประทับตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ค่าธรรมเนียมฝั่งไทย 10 บาท ค่ารรมเนียมฝั่งลาว วันจันทร์-ศุกร์ 50 บาท เสาร์-อาทิตย์ 70 บาท อายุผ่านแดน 3 วัน หากอยู่เกินต้องขอต่อที่กระทรวงภายใน สปป.ลาวและใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปเมืองชายแดนไทย-ลาวไม่เกิน 25 กิโลเมตร หากเดินทางไปเมืองอื่นต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่า
     ชาวต่างประเทศ ต้องใช้หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมวีซ่า โดยยื่นขอวีซ่าได้ที่สถานฑูตลาวประจำประเทศไทย 520/1-3 ซอยรามคำแหง 39 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร.0 2539 6667 หรือสถานกงสุลลาว 18/1-3 ถนนโพธิสถิตย์ บ้านโนนทัน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4322 1861,0 4322 3688 ทั้งนี้ต้องดำเนินการล่วงหน้าก่อนเข้าประเทศอย่างน้อย 3 วันทำการ หรือติดต่อบริษัทนำเที่ยวดำเนินการได้ อนุญาตให้อยู่ในลาวได้ 30 วัน หรือติดต่อขอ visa on arrival ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สปป.ลาว อยู่ในลาวได้ 15 วัน
การนำรถยนต์ออก-เข้าประเทศ
ต้องทำเอกสารนำรถออกและเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด สามารถติดต่อบริษัททัวร์ในหนองคายดำเนินการให้หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ด่านศุลกากรจังหวัด โทร. 0 4241 1518,0 4242 1468-9 โทรสาร 0 4241 2654



เขตรักษาพันสัตว์ป่าภูวัว
      มีเนื้อที่ประมาณ 186 ตารางกิโลเมตร หรือ 116,562 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง เกือบติดพรมแดนประเทศลาว มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 150-300 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บางส่วนเป็นสันเขาหินทราย ลานหินและทุ่งหญ้า ที่ทำการเขตฯ ตั้งอยู่ที่บ้านดอนจิก ซึ่งอยู่เลยอำเภอบุ่งคล้ามา 3 กิโลเมตรมีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร





น้ำตกธารทอง
อยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตั้ง การเดินทางใช้เส้นทางหนองคาย-ศรีเชียงใหม่-สังคม (ทางหลวงหมายเลข 211) ผ่านบ้านไทยเจริญ แล้วต่อไปบ้านผาตั้ง บริเวณหลัก กม.ที่ 74 ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวามือ ส่วนด้านซ้ายมือของถนนเป็นบริเวณลานจอดรถ น้ำตกธารทองมีลักษณะเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน มีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ ก่อนจะลดระดับเกิดเป็นชั้นน้ำตกเล็ก ๆ เป็นระยะลดหลั่นกันไปประมาณ 30 เมตรและไหลลงสู่ลำน้ำโขงในที่สุด ช่วงเวลาที่มีน้ำมากเหมาะแก่การมาเที่ยวชมคือระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม บริเวณโดยรอบเป็นสวนรุกขชาติมีป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น



น้ำตกธารทิพย์
อยู่เลยอำเภอสังคมไปประมาณ 9 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 211 ถึงบริเวณ กม. 97-98 มีป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าอีก 100 เมตรจึงถึงตัวน้ำตก น้ำตกธารทิพย์ เป็นน้ำตกที่สูงและสวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตกชั้นแรกสูงประมาณ 30 เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาวสีขาวสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชั้นที่ 2 สูงประมาณ 100 เมตร ต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทางที่ทำไว้ และชั้นที่ 3 สูงประมาณ 70 เมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดปี และจะมีน้ำมากในฤดูฝน






น้ำตกวังน้ำมอก
อยู่ในเขตวังน้ำมอก ตำบลพระพุทธบาท เป็นน้ำตกสูง 30 เมตร อยู่ทางทิศเหนือของหมุ่บ้าน เลยเขตเทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ออกไปทางอำเภอสังคม ประมาณ 28 กิโลเมตร ก่อนถึงวัดหินหมากเป้ง 20 เมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านวังน้ำมอก ระยะทางจากทางแยกเข้าสู่น้ำตกประมาณ 7 กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์จนถึงตัวน้ำตกได้โดยไม่ต้องเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีแนวสันภูเป็นผาหินมีลักษณะแปลกตา ธารน้ำไหลระยะทางลดหลั่นกันไป ตอนล่างเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลานหิน สามารถลงเล่นน้ำและอาบน้ำได้ ช่วงเวลาที่มีน้ำได้แก่ ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวที่สุด



ภูทอก
อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ 185 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอโพธิ์ชัย อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 222 ถึงอำเภอศรีวิไล จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางอีก 30 กิโลเมตร





ถ้ำเพียงดิน

มีสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด คือ ถ้ำดินเพียง มีหลานคนได้เล่าขานกันมาว่าเป็นถ้ำที่พระธุดงค์ประเทศลาวเดินทางข้ามมาโดยไม่ได้ผ่านมาทางเรือแต่เป็นการเดินทางผ่านถ้ำนี้ ซึ่งผู้ที่จะเห็นเส้นทางภายในถ้ำต้องเป็นผู้บำเพ็ญศีลภาวนา หรือพระอภิญญา ลักษณะถ้ำดินเพียงนี้คล้ายเมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อของชาวบ้าน ภายในถ้ำจะมีความชื้นและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีก้อนหินเป็นแท่งตั้งวางอย่างจงใจ บางก้อนเป้นโลงศพ มีส่วนเว้าโค้งของหินภายในถ้ำที่สวยงาม การเดินทางเข้าชมถ้ำควรมีผู้เชี่ยวชาญนำเข้าไป เพราะถ้าไปเองอาจทำให้หลงทางและเป็นอันตรายได้









อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อเมื่อปี ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2429) เสด็จในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้นรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้านเมือง ที่อนุสาวรีย์ทั้ง 4 ทิศ มีคำจารึกภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ มีการจัดงานบวงสรวงและฉลองอนุสาวรีย์ในวันที่ 5 มีนาคม ของทุกปี